เพื่อรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต
รถโดยสารประจำทาง (browser) ที่ท่านนั่งมา เก่า ไม่ได้มาตรฐาน และเสียก่อนเข้าเมือง
แนะนำให้ท่านเปลี่ยนไปนั่งรถโดยสารคันใหม่
เมืองไม่สามารถรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์พกพา
เช่น iPad iPhone Android ได้
ข้อมูลพื้นฐาน โดย Coastal Cities at Risk (CCaR) และ aLOUD Bangkok | นักศึกษาและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | ตัวอักษร "Layiji ซารังเฮโย" | คำสั่งสนับสนุนการพัฒนา โดย jQuery jQuery Transit Move.JS jScroller CreateJS SoundManager 2 QuirksMode Browser Detect Javascript-Coder Form Validation
โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน รถไฟ โรงพยาบาล ไฟฟ้า ประปา
ประเด็นทางสังคมของที่อยู่อาศัยและชุมชน เช่น คนห่วงบ้านมากกว่าชีวิตในภาวะเสี่ยง
คุณค่าของที่ดิน สิทธิและความเป็นธรรมในการใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาที่ดิน
สภาพเศรษฐกิจ การจ้างงาน การขาดงาน ค่าชดเชย เช่น อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ธุรกิจนอกระบบ
นวัตกรรมการออกแบบภายใต้กรอบแนวคิดที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์
พลังงานในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมัน ก๊าซ ฯลฯ
แหล่งอาหารสำหรับคนเมือง เกษตรกรรมและการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค
พฤติกรรมการบริโภคทั้งสินค้าและบริการ เช่น การกักตุนสินค้า และการควบคุมราคาสินค้า
การศึกษา การให้ความรู้ การสื่อสารด้านอื่น ๆ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้
สุขภาพทั้งกายและจิตใจ ความเป็นอยู่ที่ดี และสาธารณสุข
ของเสียและการจัดการของเสีย เช่น ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย หรือวัตถุอันตรายอื่น ๆ
คุณค่าและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การอพยพย้ายถิ่น ความเป็นธรรมในสังคม
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
วิศวกรขนส่ง ที่มีประสบการณ์ด้านการวางโครงข่ายคมนาคมขนส่งภายในเมือง
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไว้ว่า "ในอีก 30 ปี กรุงเทพฯ จะต้องรับมือกับความเสี่ยงเรื่องต่าง ๆ เช่น ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง น้ำเหนือหลาก และแผ่นดินทรุด รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบขนส่งทุกระดับ"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
แม่บ้านที่เคยผ่านประสบการณ์น้ำท่วมเมื่อครั้งอดีต
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยไว้ว่า "ถ้าพูดถึงที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในอีก 30 ปีข้างหน้า ที่อยู่อาศัยต้องไม่แออัด อยู่แล้วสบายใจ และมีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเข้าบ้านเหมือนปีก่อน ๆ"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นเจ้าของที่ดินมากมายในกรุงเทพฯ
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับคุณค่าของที่ดินไว้ว่า "ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะต้องโตขึ้นเรื่อย ๆ ที่ดินมีมูลค่าทุกตารางนิ้ว มีการสร้างอาคารสูงหนาแน่นมากขึ้นในเมืองชั้นใน แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงการใช้พื้นที่บางส่วนมาเป็นพื้นที่รับน้ำด้วย"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
นักธุรกิจหนุ่มไฟแรง มีความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ และส่งออก
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไว้ว่า "อยากให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เจริญ รัฐควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของแรงงานไทยให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับกับความต้องการและแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
ฝรั่งที่มีใจรักเมืองไทย เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเมือง และอาคารที่อาศัยอยู่กับน้ำ
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการออกแบบไว้ว่า "อนาคตไม่แน่นอน ดังนั้นจะต้องออกแบบเทคโนโลยีที่ใช้กับเมืองให้เข้ากับสถานการณ์ความเสี่ยงในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เมืองอยู่กับน้ำได้"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
เด็กน้อยผู้มีความสนใจด้านพลังงาน เชี่ยวชาญด้านวงจรอิเล็คทรอนิกส์
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับพลังงานไว้ว่า "กรุงเทพฯ จำเป็นต้องมีพลังงานทางเลือก ต้องมีการพัฒนา และจัดการกับระบบพลังงานของไทยให้ดี เพียงพอและสอดคล้องต่อความต้องการของเมืองในทุกสภาวะความเสี่ยง"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
เกษตรกรแถบชานเมืองที่ผลิตผลผลิตทางการเกษตร ส่งต่อเข้ามาในเมือง
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับความมั่งคงทางอาหารไว้ว่า "ต่อไปเมืองจะขยายตัว จึงต้องรักษาพื้นที่ชานเมืองบางส่วนให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อนำมาเลี้ยงท้องคนกรุง หรืออาจต้องเตรียมการทำเกษตรในเมือง ในกรณีที่ไม่สามารถนำอาหารเข้ามาได้"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
นักต่อต้านกระแสทุนนิยม มีแนวความคิดว่าการบริโภค คือจุดเร่ิมต้นของการหมดส้ิน
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการบริโภคไว้ว่า "คนกรุงเทพฯ ไม่ควรบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ แบบฟุ่มเฟือยโดยไม่คำนึงถึงคนรุ่นหลัง เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดความสมดุลระหว่างการบริโภคและการผลิต"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
เด็กต่างจังหวัดที่เข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ด้วยเหตุผลที่ว่า กรุงเทพฯ จะให้อะไรได้มากมาย
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า "สถาบันการศึกษาต้องให้การศึกษาทั้งด้านวิชาชีพและฝึกปฎิบัติในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเมืองในอนาคต ให้เข้าใจสาเหตุของความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่ออยู่ร่วมกับภัยพิบัติได้"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
หมอผู้รักชุมชน ทุ่มเทความรู้ ความสามารถให้กับคนจนในเมืองหลวง
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวสุขภาพไว้ว่า "ประชากรในกรุงเทพฯ ต้องมีสุขภาพอนามัยที่ดี การเปลี่ยนแปลงของเมืองต้องควบคู่กับการเตรียมพร้อมให้คนมีความรู้เรื่องสุขภาพ สามารถดูแล ป้องกันและรักษาโรคเบื้องต้นด้วยตนเองได้"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
ลุงที่กวาดขยะในพื้นที่กรุงเทพฯ มานานกว่า 40 ปี
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการจัดการของเสียไว้ว่า "อีก 30 ปี ลุงก็ไม่อยู่แล้ว ต้องช่วยกันทิ้งขยะให้ถูกที่ มีวินัย กรุงเทพฯ จะได้สะอาด และต้องมีการจัดการของเสียครบวงจร ทั้งการย่อยสลาย และการรีไซเคิล"
ท่านยังไม่พบตัวละครนี้
ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพรักของชุมชนบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์
ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับคุณค่าทางสังคมไว้ว่า "อยากให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ทุกคนถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เมื่อเกิดความรุนแรง ก็ไม่เกิดการทะเลาะวิวาทย์ ภาครัฐต้องมีนโยบายสนับสนุน และปฏิบัติต่อคนทุกชนชั้นเท่าเทียมกัน สังคมจะได้เข้มแข็ง"